วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

" ขันโตก "

ขันโตก
  "ขันโตก" เป็นวัฒนธรรมในการรับประทานอาหารแบบหนึ่งของชาวภาคเหนือ เป็นรูปแบบการรับประทานโดยการ นั่งบนพื้นเรือนและมีการแสดงพื้นบ้านของชาวเหนือ เพื่อใช้ในการต้อนรับแขกคนสำคัญ โดย จัดสำรับอาหารใส่ในภาชนะรอง ที่เรียกว่า "ขันโตก" หรือ "โตก"

    "ขันโตก" หรือ "โตก" เป็นภาษาดั้งเดิมของชาวเหนือ หมายถึงภาชนะสำหรับวางรอง สำรับอาหาร บางที่เรียก "สะโตก" มีรูปร่างทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางโดยประมาณ ๓๐ เซนติเมตรขึ้นไป ความสูงประมาณ ๑ ฟุต มีทั้งที่ทำจากไม้ และหวาย 
  ขันโตก มีใช้กันทั่วไปในภาคเหนือ โดยที่สมาชิกในครอบครัวหรือแขกที่มาบ้าน จะนั่งล้อมวงกันรับประทานอาหาร นอกจากจะใช้วางถ้วยกับข้าวแล้ว ยังใช้โตกเป็นภาชนะ สำหรับใส่เข้าของอย่างอื่นด้วย โดยเปลี่ยนชื่อเรียกตามสิ่งของที่ใส่

ขันโตกหลวง

ขันโตกฮาม

ประเภทของขันโตก


  1. ขันโตกหลวง หรือ สะโตกหลวง ทำด้วยไม้ขนาดใหญ่ ตัดท่อนมากลึงหรือเคี่ยนเป็นขันโตก มีความกว้างประมาณ 25 - 50 นิ้ว ตามขนาดของไม้ที่หามาได้ และนิยมใช้การในราชสำนักในคุ้มในวังของเจ้านายฝ่ายเหนือทั่วไป รวมทั้งใช้ในวัดวาอารามทั่วไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับยศศักดิ์ และความยิ่งใหญ่ของชนชั้นผู้ปกครองในการที่จะใช้เลี้ยงแขกบ้านแขกเมืองด้วย ส่วนวัดนั้นพระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่การเคารพนพนอบ มีประชาชนนำอาหารไปถวายมากดังนั้นประชาชนจึงนิยมทำขันโตกหลวงไปถวายวัด
  2. ขันโตกฮาม หรือ สะโตกทะราม เป็นขันโตกขนาดกลางประมาณ 17-24 นิ้ว (คำว่า ฮาม หรือ ทะรามนี้ หมายถึงขนาดกลาง) ใช้ไม้ขนาดกลางมาตัดและเคี่ยนหรือกลึงเหมือนขันโตกหลวง ลงรักทาหางอย่างเดียวกัน ผู้ที่ใช้ขันโตกขนาดนี้ มักได้แก่ครอบครัวขนาดใหญ่ เช่น คหบดี เศรษฐีผู้มีอันจะกิน หรือถ้าเป็นวัด ผู้ที่ใช้ขันโตกขนาดนี้คือ พระภิกษุ ในระดับรองสมภาร
  3. ขันโตกหน้อย เป็นขันโตกขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 10 - 15 นิ้ว วิธีทำมีลักษณะเช่นเดียวกับขันโตกหลวงและขันโตกฮาม ใช้ในครอบครัวเล็ก เช่น หญิงชายพึ่งแต่งงานใหม่ หรือ ผู้ที่รับประทานคนเดียว อาหารที่ใส่ก็มีจำนวน


อาหารในขันโต
อาหารต่างๆในขันโตก
               ชาวล้านนานิยมรับประทานพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ  อาจจะเป็นผักป่า หรือว่าผักข้างรั้ว กินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก  นิยมปรุงอาหารโดยไม่ใส่น้ำตาล  มีรสเค็มนำและเผ็ดเล็กน้อย ใช้กะทิปรุงน้อยกว่าภาคกลาง  นิยมแกงแบบน้ำขลุกขลิก และน้ำพริกต่างๆก็ค่อนข้างแห้ง เพราะชาวล้านนารับประทานด้วยวิธีปั้นข้าวเหนียวเป็นก้อนเล็กๆ แล้วจิ้มลงไปในน้ำแกง

             ผักป่า เป็นผักที่ได้มาจากป่า หรือจากแพระ (ป่าละเมาะ) ในฤดูร้อน ได้แก่ ปลีกล้วย ยอดมะขาม ยอดมะม่วง ผักเสี้ยว ผักเฮือด ในฤดูฝน จะมีอาหารจากป่ามาก เช่น หน่อไม้ เห็ด ผักหวาน ผักปู่ย่า ในทุ่งนามีผักสีเสียด ผักกาดนา หรือผักจุมปา ผักแว่น ผักบุ้ง เป็นต้น

             
การจัดสำรับอาหาร  จัดใส่ขันโตกหรือโก๊วะข้าว ทำมาจากไม้ นิยมใช้ไม้สักในการทำขันโตก  ปัจจุบัน  มีการนำเอาหวายมาสานเป็นขันโตกด้วย 
             
อาหารที่นิยมรับประทานในขันโตกนั้น มีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิดซึ่งล้วนแต่เป็นอาหารพื้นเมืองขนานแท้ทั้งสิ้น ได้แก่ แกงฮังเล จะเป็นแกงที่ใส่เนื้อวัวหรือเนื้อหมูส่วนใหญ่นิยมเนื้อสันสามชั้น สีออกเหลือง ๆ มีถั่วลิสง น้ำพริกอ่อง เป็นน้ำพริกที่ทำมาจากมะเขือเทศรสออกเปรี้ยว เป็นที่สังเกตว่าน้ำพริกอ่องของคนเมืองจะไม่นิยมใส่มะนาว แต่จะได้รสเปรี้ยวจากมะเขือเทศแทนซึ่งจะทานคู่กับผักต้มหรือนึ่ง ไส้อั่ว เป็นอาหารที่มีเนื้อหนังแบบแหนม คือนำเนื้อหมูสับมาปรุงเครื่องแล้วยัดเข้าไปในไส้หมูที่ล้างให้สะอาด แล้วนำไปปิ้งไฟให้สุก มีลักษณะคล้ายกับไส้กรอกอีสาน แคบหมู อาหารขึ้นชื่อของเชียงใหม่ทำมาจากหนังหมูทอดมักนิยมกินเป็นอาหารว่างหรือจะจิ้มกับน้ำพริกหนุ่มก็ได้ ถือว่าเป็นอาหารที่จะขาดไม่ได้ในวงขันโตก แกงแค เป็นแกงรวมผักนานาชนิด เช่น ผักหละ หรือชะอม ถั่งฝักยาว มะเขือพวง หรือ มะแข้วง ที่ขาดไม่ได้ก็คือ หน่อไม้ ใส่เครื่องแกงเผ็ดเหมือนแกงป่า นอกจากอาหารที่กล่าวมาแล้ว ขันโตกบางที่ยังมีการนำลาบดิบที่ทำมาจากเนื้อควายหรือเนื้อหมูเข้าร่วม นอกจากนั้นยังมีแกงอ่อมด้วย

แกงฮังเล


แกงโฮะ


แกงแค

น้ำพริกอ่อง

ไส้อั่ว

น้ำพริกหนุ่ม

แคบหมู

           การกินข้าวขันโตกของชาวเหนือนั้น นอกจากจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อ แสดงน้ำใจในการต้อนรับแขก และเป็นการให้เกียรติแก่ผู้มาเยือนแล้วในปัจจุบัน ก็ยังได้มีจุดมุ่งหมายที่แฝงอยู่หลายประการ เช่น บาง ท้องถิ่นก็ได้จัดงานเลี้ยง ขันโตก เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี ในท้องถิ่นของตนเอง เพื่อฟื้นฟูการแต่งกายแบบพื้นเมือง เพื่อการทำอาหารพื้นเมืองเพื่อส่งเสริมการ ท่องเที่ยว ให้ชาวบ้านมีรายได้มีงานทำด้วย บางแห่งก็มีการจัดงาน เลี้ยงขันโตก เพื่อหารายได้สำหรับสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่น 

งานกินเลี้ยงขันโตก  
          งานจะเริ่มจากการร่วมแรงร่วมใจกันตระเตรียมสิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆ ตลอด ไปจนสถานที่ โดยจะประดับเวที ฉาก และการแสดงบนเวที สำหรับสถานที่นิยม จัดในที่กลางแจ้ง เช่น สนามหญ้าต่างๆ แล้วนำเสื่อมาปู ส่วนมากเป็นเสื่อยาวๆ จะนั่งกันประมาณ ๕ ถึง ๖ คน มีขันโตกตั้งอยู่ตรงกลาง ในขันโตกส่วนมากก็จะมี อาหารประมาณ ๕ อย่าง ตัวอย่างเช่น แกงอ่อม แคบหมู แกงฮังเล น้ำพริกอ่อง ชิ้นปิ้ง ผักสด และที่ขาดไม่ได้ คือ ข้าวเหนียว หรือที่ชาวเหนือเรียกกันว่า ข้าวนึ่ง ข้าวนึ่งของชาวเหนือ นั้นจะต้องอาศัยทักษะและ ความรู้ในการทำพอสมควร คือ เริ่มจากนำข้าวไปแช่น้ำ เรียกว่า การหม่าข้าวไว้ ๑ คืน ในหม้อข้าวหม่า (หม้อที่ ใช้สำหรับแช่ข้าวเหนียว) ซึ่งก่อนที่จะทำการนึ่งต้องซาวข้าวด้วยการใช้ ซ้าหวด (คือ ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่สำหรับ ใส่ข้าวเหนียวเอาไปล้างน้ำให้สะอาดก่อน ที่จะนำไปนึ่ง) การนึ่งจะต้องใช้ไหข้าวมีฝาปิดมิดชิดให้ข้าวสุกดีขึ้น แล้วยกลงมา นำไปวางในภาชนะที่เรียกว่า กั๊วะข้าว หรือถาด ต้องคอยคนให้ไอน้ำในข้าวระเหย ออกไปบ้าง และคอยระวังไม่ให้ข้าวแฉะ ข้าวแข็ง หรือสุกไม่ทั่วกัน เมื่อข้าวสุก ได้ที่แล้ว ก็นำข้าวไปใส่ กระติ๊บบ้าง หรือที่ทางเหนือเรียกว่า แอ๊บ หรือก่องข้าว ซึ่งนิยมสานด้วย 

กระติ๊บข้าวเหนียว
           
            งานเลี้ยงข้าวขันโตก จะมีกระติ๊บข้าวนึ่งที่มีขนาดใหญ่อีกกระติ๊บหนึ่ง เรียกว่า กระติ๊บหลวง มีลักษณะเหมือนกระติ๊บทั่วไปแต่มีขนาดใหญ่มาก อาจต้อง ใช้คนหามเข้าขบวนแห่นำขบวน ขันโตก โดยมีขบวนสาวงามช่างฟ้อนนำขบวน ขันโตกเข้ามาในงาน ผสมกับเสียงดนตรี และเสียงโห่ร้องเพื่อแสดงความยินดี เมื่อสาวงามช่างฟ้อนมาถึงงานเลี้ยงแล้ว ก็จะนำกระติ๊บหลวงไปวางไว้กลางงาน และนำข้าวนึ่ง ในกระติ๊บหลวง ออกแบ่งใส่กระติ๊บเล็กๆ แจกจ่ายไปตามโตกต่างๆ จนทั่วบริเวณงาน ซึ่งมีโตกกับข้าวเตรียมไว้ก่อนแล้ว 
บรรยากาศในงานเลี้ยงขันโตก


             การนั่งรับประทานอาหารในงานขันโตก จะนั่งกับพื้นบนสาดเติ้ม (เสื่อไผ่สาน) หรือจะนั่ง รับประทานขันโตกบนพื้นไม้ที่ยกพื้นขึ้นมาในระดับเวทีก็ได้ 
             ผู้ที่มาร่วมงานทุกคนจะแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองของชาวเหนือ ผู้ชายสวมเสื้อ ม่อฮ่อม มีผ้า ขาวม้าคาดเอว มีพวงมาลัยดอกมะลิคล้องคอ ส่วนผู้หญิงนุ่งผ้าถุง ยาวถึงตาตุ่ม สวมเสื้อแขนกระบอก ทัดดอกไม้ที่หู หรือคล้องพวงมาลัยดอกมะลิ 
            นอกจากอาหารคาวแล้ว ยังมีอาหารหวาน ที่นิยมเลี้ยงกันในงานขันโตก เช่น ขนมปาด ข้าวแตน ข้าวควบ มีน้ำต้นคนโท ขันน้ำสำหรับล้างมือก่อนหยิบข้าวนึ่ง มีกระโถนใส่เศษอาหาร และเมี่ยง บุหรี่ไว้สำหรับ แขกเหรื่อที่มาร่วมงาน บุหรี่ที่ใช้ คือ บุหรี่ขี้โย เป็นบุหรี่ยาเส้น นำมามวนใบตอง ชาวบ้านนิยมสูบกันทั่วไป เมี่ยง คือ ใบชานำมาหมักให้ได้ที่ใช้อมกับเกลือ มีรสเปรี้ยว อมเรียกน้ำลายทำให้ชุ่มคอ
ข้าวควบ


ขนมปาด


            สำหรับบรรยากาศที่น่าประทับใจของงาน คือ จะให้แสงสว่างบนเวทีจากไฟ ตะเกียง หรือแสงเทียน บนโตกมีการจุดเทียน ๒ - ๓ เล่ม ให้พอมองเห็นหน้ากัน บนเวทีมีการตกแต่งประดับประดาให้เข้าบรรยากาศเมืองเหนือ และมีวงดนตรีอยู่ที่ มุมหนึ่งของเวที ในขณะที่แขกเหรื่อกำลังรับประทานอาหารก็มีการบรรเลงดนตรี ขับกล่อมตลอดเวลาสลับกับการแสดงบนเวที และส่วนมากนิยมนำเอาศิลปะการ ฟ้อนรำแบบชาวเหนือมาแสดงบนเวที สลับกับการแสดงดนตรีพื้นเมือง เช่น ชุดการแสดงฟ้อนสาวไหม ฟ้อนตาว (ฟ้อนดาบ) ฟ้อนเทียน 


การแสดงชุดฟ้อนสาวไหม


การแสดงชุดฟ้อนเทียน


              การจัดงานประเพณีกินข้าวแลง ที่ทำกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ได้มีการนำเอาศิลปะ วัฒนธรรมของ ชาวเหนือเข้ามาผสมผสานเพื่อให้มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น เช่น จัดให้ มีการประกวดโคมลอย การประกวดจิบอกไฟ (จุดบอกไฟ) หรือจุดพลุในเวลา กลางคืนให้ดูสวยงาม เพิ่มสีสันให้แก่งานอย่างมาก 


              งานประเพณีต้อนรับแขกชาวเหนือ เป็นงานประเพณีที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ ของชาวไทยภาคเหนือ เป็นการอนุรักษ์วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตั้งแต่ดั้งเดิมที่สืบมา จนถึงทุกวันนี้ ทั้งยังเป็นการสร้างบรรยากาศ ในการต้อนรับให้อบอุ่น และสร้าง ความประทับใจแก่ผู้มาเยือน ยากที่จะลืมเลือน 




หากใครได้มาเที่ยวภาคเหนือก็ควรลองรับประทานอารหารแบบขันโตกดูสักครั้งเน้อ  รับรองว่าคุณจะประทับใจในรสชาติของอาหารเหนือในขันโตกและการแสดงต่างที่รับชมอย่างแน่นอนเน้อเจ้า

  

1 ความคิดเห็น:

  1. Iron Clays | TITIAN NAMCO | Titanium Nitride | TITIAN NAMCO
    Iron Clays is a fully custom designed tool titanium tent stakes that titanium mokume gane works as a traditional tool titanium auto sales for steel or ironing. It's a modern titanium pipe tool with a twist and damascus titanium can be used for

    ตอบลบ